วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การออกแบบระบบเครือข่ายแบบ packet-tracer

การเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็ก IP Sharing



     IP Sharing เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแชร์อินเตอร์เน็ต นิยมใช้ในร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ หรือบริษัทขนาดเล็ก โดยส่วนมาก IP Sharing จะต้องเชื่อมต่อกับโมเด็มเพื่อหมุนออกอินเตอร์เน็ตอีกที่หนึ่ง


การเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดกลางด้วย ADSL Router




     ในการเชื่อมต่อแบบนี้ส่วนมากแล้วโมเด็มที่ใช้จะเป็น ADSL Router แบบ Fix IP คือ หลังจากการเลือกใช้บริการ ผู้ให้บริการจะแบ่งหมายเลข IP จริง ออกมาส่วนหนึ่ง สามารถนำ IP Address มาตั้ง Server ได้

                                     การเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดใหญ่



     เป็นระบบที่มีความสลับซับซ้อน แต่ละบริษัทจะมีการออกแบบที่ไม่เหมือนกันโดยทั่วไประบบเครือข่ายขนาดใหญ่จะมีการแบ่งกันอย่างชัดเจน ระหว่าง Server Farm และ ฝั่งลูกข่าย (Client)




วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คำศัพท์ Network

คำศัพท์ NETWORK


1. Twisted Pairs
สายสัญญาณมาตรฐานที่นิยมใช้ มากที่ สุดในระบบเครือข่ายปัจจุบัน สายสัญญาณจะประกอบด้วยสายทองแดงที่ห่อหุ้มด้วยฉนวน 2 เส้นแล้วบิดเป็นเกลียวเหตุที่บิดเป็นเกลียวก็เพื่อลดสัญญาณรบกวนนั่นเอง

2. Fiber Optic สายที่ใช้แสงเป็นสัญญาณ และแก้วหรือพลาสติกใสเป็นสื่อนำสัญญาณ ในขณะที่สายคู่เกลียวบิดและสายโคแอ็กเชียลใช้ สัญญาณไฟฟ้าและโลหะเป็นสื่อ

3. Repeater อุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายเคเบิล 2 เส้นเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย

4. Gateway อุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อนมากกว่าเราท์เตอร์หรือบริดจ์ เพราะอุปกรณ์ชนิดนี้สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลใน Data link และ Network Layer ที่แตกต่างกันได้มากกว่า 2 ระบบ

5. Extranet เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นระบบเครือข่าย สำหรับผู้ใช้ภายนอกระบบ (เช่น ผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ขายอิสระ และตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น) ให้สามารถ เข้ามาสืบค้นข้อมูล ของบริษัทเช่น ราคาสินค้า รายการสินค้าคงคลัง กำหนดการส่งของ เป็นต้น

6. Fast Ethernet เป็นระบบเครือข่ายอีกแบบ ที่ใช้วิธีการส่งข้อมูล แบบเดียวกับ ระบบอีเธอร์เน็ต (มีการตรวจจับ การชนกันของข้อมูล) แต่จะทำงานที่ ความเร็วสูงกว่าถึง 10 เท่าคือ 100 ล้านบิตต่อวินาที ระบบนี้ช่วยให้ สามารถปรับปรุง ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีการใช้งานหนาแน่น ให้มีประสิทธิภาพ การทำงานที่สูงขึ้น ได้อย่างราบรื่น เพราะใช้ระบบเคเบิล ระบบการใช้งาน และระบบการจัดการ เครือข่ายแบบเดียวกัน ระบบ Fast Ethernet นี้มีอยู่หลายแบบเช่น 100BASE-FX, 100BASE-T4 และ 100BASE-TX

7. FDDI เป็นคำย่อมาจาก Fiber Distributed Data Interface หรือระบบต่อเชื่อม กระจายข้อมูล ด้วยใยแก้วนำแสง เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่นำพื้นฐาน ของเครือข่าย แบบส่งผ่านโทเค็น มาใช้บน สายเคเบิลใยแก้วนำแสง โดยทั่วไป จะใช้สำหรับระบบเครือข่ายหลัก ขององค์กรขนาดใหญ่
Frame Relayเป็นบริการของ เครือข่ายพื้นที่กว้าง (WAN) ที่เป็นการเชื่อมต่อ แบบปิด-เปิด (on-and-off) ระหว่างสถานที่ ที่อยู่ห่างกัน เป็นระยะทางไกล

8. FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol หรือโปรโตคอล ส่งผ่านไฟล์ เป็นส่วนหนึ่งของ กลุ่มโปรโตคอล อินเทอร์เนตหลัก (TCP/IP) ใช้สำหรับส่งไฟล์ จากเครื่องผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ ของคุณ

9. GATEWAY คอมพิวเตอร์ตัวกลางในการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากเครือข่ายหนึ่ง ไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง
10. Gigabit Ethernet กิกะบิตอีเธอร์เน็ต เป็นระบบอีเธอร์เน็ต รุ่นล่าสุด ที่สามารถทำกา รส่งข้อมูล ที่
ความเร็วถึง 1000 เมกะบิต (1 กิกะบิตต่อวินาที) ซึ่งเร็วกว่า อีเธอร์เน็ต แบบดั้งเดิม ถึง 100 เท่า แต่ยังสามารถ ทำงานร่วมกับ ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีอยู่ได้ ทั้งนี้เนื่องจาก ยังใช้โปรโตคอล CSMA/CD และ Media Access Control (MAC) ที่เหมือนกัน ระบบกิกะบิตอีเธอร์เน็ตนี้ เป็นคู่แข่งโดยตรง กับ ระบบ ATM และทำให้ หมดยุคของระบบ FDDI และ Token Ring ไปโดยปริยาย

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คำศัพท์ Network


คำศัพท์ Network




1. DSL (Digital Subscriber Line) 
อุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงอย่างหนึ่ง ผ่านทางสายโทรศัพท์ แต่เรายังคงใช้โทรศัพท์พร้อมกันได้ด้วย มีอีกชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกกันคือADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)


2. Backbone 
เส้นทางหลักของระบบเครือข่าย เปรียบได้กับ กระดูกสันหลัง ของเครือข่ายสื่อสาร เป็นส่วนสำคัญ ของเครือข่าย ที่ทำหน้าที่เป็น เส้นทางหลัก ในการส่งข้อมูล ระหว่างเครือข่าย มากกว่า ที่จะใช้ส่งข้อมูล กันภายใน

3. Client  
 ไคลเอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ “บริการ” ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์

4. COMPOSE
 การแต่ง หรือเขียนจดหมาย Email

5.EISA 
การเชื่อมต่อหรือ อินเตอร์เฟส แบบมาตรฐานของการ์ดต่าง ๆ ปัจจุบันล้าสมัยแล้ว

6. DNS 
Domain Name Server การแปลงชื่อโฮตของเครือข่ายไปเป็นแอดเดรศ บนระบบเครือข่าย TCP/IP หรือใน internet

7. Domain Name Server
เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้งโปรแกรม สำหรับทำหน้าที่จัดการ ชื่อต่างๆ ของ Server ทำให้สามารถเรียกใช้งาน ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น

8. Proxy Server
เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ ติดตั้งโปรแกรม Proxy ไว้สำหรับเก็บบันทึกการเรียกใช้บริการ www ทำให้สามารถเรียกใช้บริการจาก อินเตอร์เนตได้รวดเร็วขึ้นเนื่องจากว่า ได้เรียกใช้ภายในระบบเดียวกัน ซึ่งมีความเร็วสูงกว่าการเรียกใช้งานผ่านอินเตอร์เนตโดยตรง ช่วยลดปัญหาการสื่อสารผ่านอินเตอร์เนตลงได้ ทำให้ความเร็วในการเรียกใช้บริการอินเตอร์เนตสูงขั้น และ ยังสามารถกำหนดสิทธิของ ผู้ใช้ง่นภายในเครือข่ายได้ เช่น จำกัดสิทธิในการใช้บริการ บางเว็ปไซท์ หรือ จะต้องมีรหัส จึงจะสามารถใช้งานได้

9. Dynamic IP Address
บริการจัดทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ใช้เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต ให้สามารถให้บริการ อินเตอร์เนต ข้อมูลบนอินเตอร์เนต ได้ โดยที่ผู้ใช้ งาน สามารถเรียกใช้บริการได้จากชื่อ โดเมนเนม ที่จดทะเบียนไว้ หากไม่ใช้ บริการ Dynamic IP Address ทุกทั้ง ที่ทำการเชื่อมต่อ เข้าสู่ อินเตอร์เนต ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) จะกำหนด IP Address มาให้ใหม่ ทุกครั้ง และ เราจะต้องติดต่อกับเครื่องของเรา โดยใช้ IP Address หาก IP Address เปลี่ยนไป ก็ต้องกำหนดการติดต่อ ใหม่ เรื่อยไป

10. Web Hosting
คือบริการให้เช่าพื้นที่เก็บข้อมูล บนเครื่อง ที่ให้บริการ บนอินเตอร์เนต สามารถเรียกใช้งานได้ ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน โดยอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพของเครื่องให้บริการ ( Web Server) ความเร็วในการถ่ายเทข้อมูล ปริมาณการเรียกใช้ข้อมูล ( Data Transfer) พื้นที่เก็บข้อมูล (Disk Space ) จำนวน E-Mail Account และ บริการเสริม อื่นๆ

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การออกแบบระบบเครือข่าย

การเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็ก IP Sharing



     IP Sharing เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแชร์อินเตอร์เน็ต นิยมใช้ในร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ หรือบริษัทขนาดเล็ก โดยส่วนมาก IP Sharing จะต้องเชื่อมต่อกับโมเด็มเพื่อหมุนออกอินเตอร์เน็ตอีกที่หนึ่ง


การเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดกลางด้วย ADSL Router



     ในการเชื่อมต่อแบบนี้ ส่วนมากโมเด็มที่ใช้จะเป็น DSL Router แบบ Fix IP กล่าวคือ หลังจากเลือกใช้บริการ ทางฝั่งผู้ให้บริการจะแบ่งหมายเลข IP Address (IP จริง) ให้มาส่วนหนึ่ง โดยเราสามารถนำ IP Address เหล่านี้มาตั้งเซิร์ฟเวอร์ได้ โดยหากคิดจะติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ลแะใช้งานผ่านสื่อ ADSL คุณคุณต้องทำงานหนักอีกด้าน คือ การติดตัง Firewall



การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดใหญ่โดยใช้เร้าเตอร์



ป็นระบบที่มีความสลับซับซ้อน แต่ละบริษัทจะมีการออกแบบที่ไม่เหมือนกันโดยทั่วไประบบเครือข่ายขนาดใหญ่จะ มีการแบ่งกันอย่างชัดเจน ระหว่างห้องเซิร์ฟเวอร์ (Server Farm) และฝั่งลูกข่าย (Client)  ระบบขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จะมีสาขาย่อยตามต่างจังหวัด เชื่อมต่อมายังหน่วยงานกลาง ผ่านทางRouter 


วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สรุป หลังสอบ Midterm

สรุป หลังสอบ Midterm

1. คำศัพท์เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    1.1. การส่งสัญญาณ Multicast คือ การสื่อสารระหว่างผู้ส่ง 1 รายกับผู้รับหลายรายบนระบบเครือข่าย
    1.2. Proxy Server คือ เครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่าง ผู้ใช้ในระดับเครื่องลูกข่ายกับอินเตอร์เน็ต
    1.3. สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) คือ ป็นสายโทรศัพท์แบบพื้นฐาน twisted pair เป็นสายทองแดงธรรมดาที่ต่อตามบ้าน คอมพิวเตอร์ของบริษัทไปยังผู้ให้บริการโทรศัพท์ การหุ้มฉนวนที่สายและพันเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนและการเหนี่ยวนำระหว่างสาย สัญญาณแต่ละสัญญาณบนสาย twisted pair ต้องการสายทั้งสอง ในการติดตั้งโทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์แบบ multiple connections ต้องการสาย twisted pair ตั้งแต่ 2 คู่ขึ้นภายในสายเดียวกัน
    1.4. มาตรฐาน 802.11g คือ ข้อกำหนด 802.11g เป็นมาตรฐานสำหรับเครือข่ายไร้สายพื้นที่ (WLAN) ที่เสนอการส่งผ่านในระยะใกล้ ได้ถึง 54 Mbps เปรียบเทียบได้กับ ความเร็วสูงสุด 11 Mbps ของมาตรฐาน 802.11b รุ่นก่อนหน้า
    1.5. Firewall คือ เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ หน้าที่หลักของ Firewall จะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานระหว่าง Network ต่าง ๆ (Access Control) 
    1.6. Cloud Computing คือ วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้
    1.7. ISP (Internet Service Provider) คือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เป็นหน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ทำหน้าที่เสมือนเป็นประตูเปิดการเชื่อมต่อให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
    1.8. Core Layer คือ เป็นจุดศูนย์กลางและหัวใจหลักของเน็ตเวิร์ก ทำหน้าที่เชื่อมต่อ Distribution Layer หลายๆตัวเข้าด้วยกัน และสามารถรับส่งแพ็กเก็ตได้อย่างรวดเร็วมาก
    1.9. Star Topology คือ เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือสวิตช์ (Switch) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง 
    1.10. สถาปัตยกรรม แบบ P2P (Peer to Peer) คือ ป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก และเหมาะกับหน่วยงาน ที่มีคอมพิวเตอร์น้อยกว่า 10 เครื่อง ระบบ Peer to Peer นี้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง สามารถเข้าไปใช้ไฟล์ที่่เก็บบนเครื่องไหนก็ได้ software ที่ใช้คือ Windows การติดตั้งเพียงแต่เพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า LAN Card ในแต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์ และีต่อสายแลนเข้าไปสู่ อุปกรณ์ที่เป็นตัวกลาง ซึ่งเรียกว่า HUB หากเปรียบเทียบแล้วเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer จะมีการทำงานในลักษณะที่เป็น Decentralization ส่วนระบบ Client-Server มีการทำงานเป็นแบบ Centralization นั่นเอง

2. หลักการในการออกแบบระบบเครือข่ายที่ต้องคำนึงถึงคุณสมบัิ 4 ประการ
    2.1. Fault Tolerance เป็นความสามารถของระบบที่จะทำงานต่อไปได้ ในสภาวะที่มีความเสียหายเกิดขึ้น เป้าหมายของระบบที่คงทนต่อความเสียหาย คือป้องกันการล้มเหลวของการทำงานของระบบเท่าที่สามารถทำได้ การคงทนต่อความเสียหาย
  2.2. Scalability สามารถรองรับและต่อขยายระบบ SCADA กับส่วนต่าง ๆ ได้
    2.3. Quality of Service  เป็นตัวกำหนดชุดของคุณสมบัติของประสิทธิภาพของการติดต่อ หรือเรียกว่าเป็นการส่งข้อมูลในเครือข่ายโดยรับประกันว่าการส่งข้อมูลจะเป็นไปตามคุณภาพหรือเงื่อนไขที่ต้องการ
    2.4. Security  "ยาม" ที่ช่วยปกป้องจากการทำอันตราย จากสื่อต่างๆที่เรานำเข้ามาเองโดยที่ผู้ใช้ไม่ทันระวัง

3. มาตรฐาน OSI 7 Later แต่ละชั้นเรียกว่า มีหน้าที่
    7. Application layer - ระดับที่จักการเกี่ยวกับ Application เช่น การเข้าถึงฐานข้อมูล หรือการรับส่ง E-Mail
    6. Presentation layer - ระดับที่ดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่าง Application ของคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในเครือข่าย
    5. Session layer - ระดับที่ใช้กำหนดวิธีการควบคุมการเชื่อมต่อระหว่างผู้รับข้อมูลและผู่ส่งข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดการสื่อสาร
    4. Transport layer - ระดับที่ใช้ในการควบคุมความผิดพลาดการเชื่อมต่อระหว่างผู้รับข้อมูลแลัผู้ส่งข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดการสื่อสาร
    3. Network layer - ระดับที่มองข้อมูลที่เป็นแพ็คเก็จ (Package) แพ็คเก็จอาจจะใหญ่หรือเล็ก ข้อมูลบางส่วนในแพ็คเก็จใช้เป็นตัวช่วยบอกเส้นทาง เช่น Router , Swich , Layer3 (อ้างโดย IP Address)
    2. Data link layer - ระดับที่ใช้รับส่งข้อมูลผ่านตังวกลาง (Media) และจัดรูปแบบของเฟรม (Frame)
    1. Physical Layer - ระดับต่ำสุดจะมองในแง่ของสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งข้อมูลรพหว่างกันรวมทั้งเครื่องมือ เช่น UTP , Hub , Repeater

4. ประโยชน์ของระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล
     1. สามารถแชร์ข้อมูลใช้ร่วมกันได้ ข้อมูลต่าง ๆ ในแต่ละเครื่องภายในระบบ หากมีผู้อื่นต้องการใช้ คุณสามารถแชร์ให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้
2. สามารถใช้โปรแกรมร่วมกันหลายๆเครื่องได้ เช่น ในห้อง LAB คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวน คอมพิวเตอร์ที่มี จำนวนเครื่องในระบบจำนวน 30 เครื่อง คุณสามารถซื้อโปรแกรมเพียงแค่ 1 ชุดและสามารถใช้งานร่วมกันได้ 3. ติดต่อสื่อสารสะดวก รวดเร็ว เครือข่ายนับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล กับเพื่อนร่วมงานที่อยู่คนละที่ ได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว 4. สามารถใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ในการติดต่อผู้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว 
5. สามารถประยุกต์ใช้ในงานธุรกิจได้ (Business Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อนปรโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน 
   
5. วิธีคิดคำนวณการแบ่ง Subnet และการหาจำนวน Host
    5.1 Ip Address = 118.0.0.0
          - ต้องการแบ่งเป็น 126 subnet
          - มีจำนวน Host ที่ใช้งานได้ 131,070
IP อยู่ในคลาส : A ค่า Default subnet mask : 255.0.0.0 subnet mask ที่กำหนดใหม่ : 255. 254.0.0 จำนวน subnet ทั้งหมด : 128 จำนวน subnet ที่สามารถใช้งานได้ : 126 จำนวน Host ทั้งหมดแต่ละ subnet : 131.072 จำนวน Host ที่ใช้งานได้จริง : 131,070

    5.2 Ip Address = 178.100.0.0
          - ต้องการแบ่งเป็น 2000 subnet
          - มีจำนวน Host ที่ใช้งานได้ 15
     IP อยู่ในคลาส : B
ค่า Default subnet mask : 255.255.0.0 subnet mask ที่กำหนดใหม่ : 255.255.255.224 จำนวน subnet ทั้งหมด : 2048 จำนวน subnet ที่สามารถใช้งานได้ : 2046 จำนวน Host ทั้งหมดแต่ละ subnet : 32 จำนวน Host ที่ใช้งานได้จริง : 30

   5.3 Ip Address = 195.85.8.0
          - ต้องการแบ่งเป็น 6 subnet
          - มีจำนวน Host ที่ใช้งานได้ 30
    IP อยู่ในคลาส : C
ค่า Default subnet mask : 255.255.255.0 subnet mask ที่กำหนดใหม่ : 255.255.255.248 จำนวน subnet ทั้งหมด : 32 จำนวน subnet ที่สามารถใช้งานได้ : 30 จำนวน Host ทั้งหมดแต่ละ subnet : 8  
จำนวน Host ที่ใช้งานได้จริง : 6

   5.4 Ip Address = 148.75.0.0
          - ต้องการแบ่งเป็น 1000 subnet
          - มีจำนวน Host ที่ใช้งานได้ 60
    IP อยู่ในคลาส : B
ค่า Default subnet mask : 255.255.0.0 subnet mask ที่กำหนดใหม่ : 255.255.255.192 จำนวน subnet ทั้งหมด : 1,024 จำนวน subnet ที่สามารถใช้งานได้ : 1,022 จำนวน Host ทั้งหมดแต่ละ subnet : 64 จำนวน Host ที่ใช้งานได้จริง : 62

    5.5 Ip Address = 192.10.10.0
          - ต้องการแบ่งเป็น 14 subnet
          - มีจำนวน Host ที่ใช้งานได้ 14
    IP อยู่ในคลาส : C
ค่า Default subnet mask : 255.255.255.0 subnet mask ที่กำหนดใหม่ : 255.255.255.240 จำนวน subnet ทั้งหมด : 16 จำนวน subnet ที่สามารถใช้งานได้ : 14 จำนวน Host ทั้งหมดแต่ละ subnet : 16 จำนวน Host ที่ใช้งานได้จริง : 14