คำศัพท์Network
1. Dynamic IP Address
คือบริการจัดทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ใช้เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต ให้สามารถให้บริการ อินเตอร์เนต ข้อมูลบนอินเตอร์เนต ได้ โดยที่ผู้ใช้ งาน สามารถเรียกใช้บริการได้จากชื่อ โดเมนเนม ที่จดทะเบียนไว้ หากไม่ใช้ บริการ Dynamic IP Address ทุกทั้ง ที่ทำการเชื่อมต่อ เข้าสู่ อินเตอร์เนต ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) จะกำหนด IP Address มาให้ใหม่ ทุกครั้ง และ เราจะต้องติดต่อกับเครื่องของเรา โดยใช้ IP Address หาก IP Address เปลี่ยนไป ก็ต้องกำหนดการติดต่อ ใหม่ เรื่อยไป
2.Web Hosting
คือบริการให้เช่าพื้นที่เก็บข้อมูล บนเครื่อง ที่ให้บริการ บนอินเตอร์เนต สามารถเรียกใช้งานได้ ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน โดยอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพของเครื่องให้บริการ ( Web Server) ความเร็วในการถ่ายเทข้อมูล ปริมาณการเรียกใช้ข้อมูล ( Data Transfer) พื้นที่เก็บข้อมูล (Disk Space ) จำนวน E-Mail Account และ บริการเสริม อื่นๆ
3. Internet Service Provider (ISP)
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) คือบริษัทหรือหน่วยงานที่ตั้งขี้นมาเพื่อให้บริการติดต่อเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยอาจจะคิดค่าบริการหรือไม่ก็แล้วแต่บริษัทหรือหน่วยงานนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ในเมืองไทย loxinfo,KSC Internet Thailand เป็นต้น
4. Core Layer
เป็นจุดศูนย์กลางและหัวใจหลักของเน็ตเวิร์ก ทำหน้าที่เชื่อมต่อ Distribution Layer หลายๆตัวเข้าด้วยกัน เลเยอร์นี้สามารถรับส่งแพ็กเก็ตได้อย่างรวดเร็วในบางเน็ตเวิร์ก อุปกรณ์ที่ทำงานในเลเยอร์ Core Layer กับDistribution Layer อาจเป็นตัวเดียวกันได้คือมีสวิตช์ตัวหลักหนึ่งตัวที่ทำหน้าที่เป็น Core Switch และมีสวิตช์ปลายทางหลายๆตัวทำหน้าที่เป็น Access Switch
5. Distribution Layer
เป็นจุดที่รองรับการเชื่อมต่อจากAccess Layer หลายๆจุดเข้าด้วยกัน และส่งผ่านไปยังCore Layer สำหรับ LAN และ Campus Network อุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในเลเยอร์นี้มักจะเป็นสวิตช์ที่มีประสิทธิภาพ มีฟีเจอร์ขั้นสูงพอสมควรและมีจำนวนพอร์ตมากพอสำหรับรองรับการเชื่อมโยงไปยังสวิตช์ที่ทำงานใน Access Layer สวิตช์ในเลเยอร์นี้เปรียบเสมือน จุดศูนย์รวม ของสวิตช์ต่างๆที่อยู่ในเลเยอร์ Access Layer
6. Access Layer
เป็นเลเยอร์ที่ใกล้ชิดกับผู้ใช้มากที่สุด เป็นจุดที่นำเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบเครือข่าย สำหรับ LAN และ Campus Network อุปกรณ์ที่ทำงานอยุ่ในเลเยอร์นี้มักเป็นสวิตซ์เลเยอร์ 2 ตัวเล็กๆที่มีจำนวนพอร์ตเพียงพอต่อการรองรับการเชื่อมต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานผ่านทางสายเคเบิล เช่น UTPสวิตช์ส่วนนี้จำเป็นต้องมีพอร์ต UPLINK เพื่อเชื่อมโยงขึ้นไปยังสวิตช์ที่อยู่ในระดับ Distribution Layer หรือมีระดับCore Layer อุปกรณ์ที่ใช้ทำงานในเลเยอร์นี้ควรมีต้นทุนของอุปกรณ์ที่ต่ำ ยังไม่จำเป็นต้องมีฟีเจอร์ขั้นสูงมากควรติดตั้งได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน
7. Internetwork Layer
ทำหน้าที่กำหนดเส้นทางให้กับข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เป็นกระบวนการส่งแพ็กเก็ตข้อมูลผ่านสื่อกลางของระบบเครือข่าย โดยแพ็กเก็ตข้อมูลจะถูกเรียกเป็น Datagram หมายถึงแพ็กเก็ตข้อมูลที่มีข่าวสารในส่วนหัว (Header) และส่วนท้าย (Trailer)ประกอบอยู่ด้วย และรวมถึงการใช้เราเตอร์และเกตเวย์ในการส่ง Datagram ไปมาระหว่างโหนดต่างๆด้วย
8. Transport layer
คือ การบริการเกี่ยวกับการส่งข้อมูลสู่layer เป็นการควบคุมการไหลของข้อมูล, กระบวนการทำงาน, การจัดการวงจรเสมือน, การตรวจสอบข้อผิดพลาดและการคืนสภาพ Transport layer นั้นให้บริการทั้ง segment และข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ใน layer ที่สูงกว่า สามารถนำมาประยุกต์ให้มีลักษณะการไหลของข้อมูลแบบเดียวกันได้
9. Application Layer
จะบรรจุโปรโตคอลหลายแบบที่ทำให้แอบพลิเคชั่นสามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายและบริการบนระบบเครือข่ายได้
10. Network Access Layer
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น